welcome to my blog Thawaranukul

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รายชื่อกลุ่ม

1.น.ส.  ชฎาพร   ทรัพย์แสง  เลขที่ 29  ม.4/6
2.น.ส. บุษกร  ยุทธการ  เลขที่  30  ม.4/6
3.น.ส.  พัชรพร  คล้ายบรรจง  เลขที่ 31  ม.4/6
4.น.ส.  รวิวรรณ   ปานเพชร  เลขที่  32  ม.4/6
5.น.ส.  วิชิตา  พุ่มไสว  เลขที่  33  ม.4/6

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Diffusion and osmosis (English Language)

Diffusion and osmosis

osmosis

                  The osmosis of (Osmosis) is the movement of solvent. (Often referred to water) through a membrane from a solution of low concentration to high concentration solution (remember a little water and too much water through the membrane, such as membrane Or paper cellos defenseman that we used in our experiments).
***** show osmosis. The water moves very little water through the membrane. (semipermeable membrane) ****.

The osmosis pressure in two related species .
- Osmotic pressure (Osmotic pressure) is the pressure to resist the movement of a solvent through a membrane . Such as cell membranes.
( Osmotic pressure is the force that resists the motion of the water, the water moves from an area with a lot of water to an area with less water resistance , so if there is not much water movement . Water moves through the membrane significantly. ( Not much resistance = low osmotic pressure ) and osmotic water pressure low ).
- Firm pressure (turgor pressure) is the pressure inside the cell. Occurs due to osmosis , water enters the cell and push the cells to swell up or tune . When too much water into the cell if the cell may rupture . If a plant cell is usually due to the rupture of the cell wall, the cell shape .
The balance point of the spread . Osmotic pressure of solution = peak pressure up 


Diffusion


Is the movement of particles from a substance to an area of ​​high density material with low density . By the kinetic energy of the substance itself. ( I had exams Ent ) .
(key word is little substance to substance . Or areas where the substance will move to areas with less substance ) by the spread of the two types .
1.1) over conventional (Simple diffusion) is not broadcasting live carrier . Or help transport (carrier) Nothing like the spread of powdered potassium permanganate in water until the water is colored magenta and around the container . The powder scent or perfume smell



Figure 1 shows a simple diffusion (the substance to substance less).



Figure 2 shows the distribution of gas in the lungs.



1.2) diffusion ° Si Tate (Facilitated diffusion) the diffusion of water through a protein carrier (Carrier) embedded in the cell membrane directly to a protein carrier (carrier) is acting like a gate to get molecules into . and out of cells. Diffusion is faster than the diffusion rate of diffusion very simple example, the liver cells and endocytosis . Intestinal epithelial cells . This diffusion occurs in the cells of organisms only.


Figure 3 shows the diffusion ° Si Tate (less substance to substance but must have taken).

Factors that affect the spread .


1. Status of the substance . The maximum kinetic energy of gas diffusion rates are highest .
2 . Status message will spread through intermediaries . By means of the gas is the least resistance , the highest rate of diffusion .
3. Sized particles of the substance. The smaller particles have higher rates of high transmission .
4 . Distances substance dissolves in a unit time.
5 . Temperature affects the kinetic energy of the substance increases the rate of diffusion increases.
6. Pressure when the pressure increased to increase the density of the substance . Result in a higher rate of diffusion .
7. Difference between the two areas of concentration .

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การแพร่และการออสโมซิส

การออสโมซิส
                 การออสโมซิส (Osmosis) คือการเคลื่อนที่ของตัวทำละลาย (มักจะกล่าวถึงน้ำ) ผ่านเยื่อเลือกผ่านจากสารละลายที่เข้มข้นต่ำไปยังสารละลายที่เข้มข้นสูง (จำง่ายๆ น้ำมากไปน้ำน้อยและที่สำคัญต้องผ่านเยื่อเลือกผ่าน เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ หรือกระดาษเซลโลเฟนที่เราใช่ในการทดลอง)
***** แสดงการออสโมซิส โดยน้ำมากเคลื่อนที่ไปน้ำน้อยผ่านเยื่อบางๆ (semipermeable membrane)****

การออสโมซิสมีแรงดันที่เกี่ยวข้อง 2 ชนิด คือ
- แรงดันออสโมติก (Osmotic pressure) คือแรงดันที่เกิดขึ้นเพื่อต้านการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายที่ผ่านเยื่อบางๆ เช่นเยื่อหุ้มเซลล์
(แรงดันออสโมติกก็คือแรงที่ใช้ต้านการเคลื่อนที่ของน้ำไม่ให้น้ำเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีน้ำมากไปยังบริเวณที่มีน้ำน้อย ดังนั้น หากมีแรงต้านการเคลื่อนที่ของน้ำไม่มาก น้ำจะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อบางๆได้มาก (แรงต้านไม่มาก = แรงดันออสโมติกต่ำ)โดยน้ำมีแรงดันออสโมติกต่ำสุด)
แรงดันเต่ง (turgor pressure) คือแรงดันที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ เกิดขึ้นเนื่องมาจากน้ำออสโมซิสเข้าไปภายในเซลล์แล้วดันให้เซลล์แต่งหรือบวมขึ้นมา เมื่อน้ำเข้าไปภายในเซลล์มากเกินไปในกรณีที่เป็นเซลล์สัตว์อาจเกิดการแตกได้ แต่หากเป็นเซลล์พืชมักจะไม่มีการแตกของเซลล์เนื่องจากมีผนังเซลล์คงรูปร่างไว้
โดยที่จุดสมดุลของการแพร่พบว่า แรงดันออสโมติกของสารละลาย = แรงดันแต่งสูงสุด




การแพร่ (diffusion)

คือการเคลื่อนที่ของอนุภาคสารจากบริเวณที่มีความหนาแน่นสูงไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของสารต่ำ โดยอาศัยพลังงานจลน์ของสารเอง (เคยออกข้อสอบเอนท์นะ)
(key word สำคัญ สารมากไปสารน้อย หรือบริเวณที่มีสารมากจะเคลื่อนที่ไปบริเวณที่มีสารน้อย)   โดยการแพร่มี 2 แบบดังนี้
1.1) การแพร่แบบธรรมดา (Simple diffusion) เป็นการแพร่ที่ไม่อาศัยตัวพา หรือตัวช่วยขนส่ง (carrier) ใดๆเลย เช่น การแพร่ของผงด่างทับทิมในน้ำจนทำให้น้ำมีสีม่วงแดงจนทั่วภาชนะ การได้กลิ่นผงแป้ง หรือ การได้กลิ่นน้ำหอม

รูปที่ เเสดงการเเพร่แบบธรรมดา (สารมากไปสารน้อย) 


รูปที่ เเสดงการแพร่ของเเก็สในปอด
 
1.2) การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated diffusion) เป็นการแพร่ของสารผ่านโปรตีนตัวพา (Carrier) ที่ฝังอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง โปรตีนตัวพา (carrier) จะทำหน้าที่คล้ายประตูเพื่อรับโมเลกุลของสารเข้าและออกจากเซลล์ การแพร่แบบนี้มีอัตราการแพร่เร็วกว่าการแพร่แบบธรรมดามาก ตัวอย่างเช่น การลำเลียงสารที่เซลล์ตับและ เซลล์บุผิวลำไส้เล็ก การแพร่แบบนี้เกิดแบบนี้เกิดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
รูปที่ เเสดงการเเพร่เเบบฟาซิลิเทต (สารมากไปสารน้อยเเต่ต้องมีตัวพา)

ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่
1.สถานะของสาร โดยแก็สมีพลังงานจลน์สูงสุดจึงมีอัตราการแพร่สูงสุด
2.สถานะของตัวกลางที่สารจะแพร่ผ่าน โดยตัวกลางที่เป็นแก็สจะมีแรงต้านน้อยที่สุดจึงทำให้มีอัตราการแพร่สูงที่สุด
3.ขนาดอนุภาคของสาร โดยอนุภาคยิ่งเล็กยิ่งมีอัตราการแพร่สูง
4.ระยะทางที่สารจะแพร่ในหนึ่งหน่วยเวลา
5.อุณหภูมิ โดยจะมีผลต่อการเพิ่มพลังงานจลน์ให้กับสารทำให้มีอัตราการแพร่เพิ่มสูงขึ้น
6.ความดัน เมื่อความดันเพิ่มสูงขึ้นจะเพิ่มความหนาแน่นให้กับสาร ส่งผลให้มีอัตราการแพร่เพิ่มสูงขึ้น
7.ความแตกต่างของความเข้มข้นสารระหว่าง 2 บริเวณ